วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ศาสตร์และศิลปะ เกล็ดพิฆาต โดย อาจารย์พน นิลผึ้ง


ลักษณะไก่เก่ง
ศาสตร์และศิลปะ เกล็ดพิฆาต โดย อาจารย์พน นิลผึ้ง

เกี่ยวกับผู้เขียน          อาจารย์พน นิลผึ้ง  เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๘๔  เป็นคนพื้นเพจากอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี  จบการศึกษาปริญญาตรี คุรุศาสตร์บัณฑิตจากวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา รับราชการเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๐๖ ในตำแหน่งครูโรงเรียนวัดเพลง จังหวัดราชบุรี   ลาออกจากราชการเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๒ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนรัตนะจีนะอุทิศ กทม.  เป็นผู้รักไก่ชนมาตั้งแต่เยาว์วัย โดยศึกษาเรียนรู้ในเรื่องไก่ชนจากญาติพี่น้องและชาวบ้าน จากตำนานไก่ชน และประยุกต์ศึกษาด้วยตนเอง    ท่านเป็นผู้มีความรู้และมีอุปการะแก่วงการไก่ชนเป็นอย่างมาก ทั้งเป็นผู้เรียบเรียงตำรับตำราไก่ชนอีกมากมาย      
  การเรียบเรียงรวบรวม   ได้ใช้หนังสือโหงวเฮ้งไก่ชนของอาจารย์พน นิลผึ้ง  เป็นหลักเป็นแนวทาง    และ ได้รวบรวมภาพจากนิตยสาร สนามไก่ชน ในคอลัมน์ ศาสตร์และศิลป์ เกล็ดพิฆาต โดย อาจารย์พน นิลผึ้ง อีกเช่น กัน                                                                                               นายแมค สุ่มไก่ดอตคอม  ผู้รวบรวมเรียบเรียง 

เรื่องเกี่ยวกับไก่ชน ว่าด้วย ศาสตร์และศิลปะ เกล็ดพิฆาต โดย อาจารย์พน นิลผึ้ง

รูปลักษณ์แข้ง    คือ รูปร่างลักษณะของแข้งไก่นั้นเอง ไก่แข้งดี โบราณว่าจะเป็นไก่ตีเจ็บ จากการสังเกตดูในปัจจุบันเห็นว่าเป็นความจริงเหมือนโบราณว่าไว้    แข้งไก่ที่ดีจะมีลักษณะกลมเรียวและเล็ก จึงเทียบเป็นคำพูดง่ายๆ ไว้ว่า นกแข้งใหญ่ ไก่แข้งเล็ก หมายความว่า นกเขาที่ดีรูปลักษณะแข้งใหญ่ๆ จะเป็นนกขยันบิน บินเก่ง ขันมีคารมและขันนาน ในไก่ชนไก่แข้งเล็กๆ กลมๆ แบบไม้เรียว ไม้ตะพด จะเป็นไก่ตีเจ็บ

                            ส่วนไก่ที่แข้งใหญ่ๆแบนๆ จะเป็นไก่ตีไม่เจ็บตีไม่แม่น จึงไม่นิยมเอามาเลี้ยงตี คนโบราณได้เปรียบเทียบและเรียกชื่อลักษณะของแข้งขาไก่ไว้ดังนี้
๑.แข้งลำเทียน    จะ มีรูปร่างลักษณะคล้ายเล่มเทียนบูชาพระ ส่วนล่างบริเวณข้อเท้าจะโตกว่าส่วนบนบริเวณใต้ข้อขา ผิวแข้งจะกลมกลึง เกล็ดจะราบเรียบไม่มีเหลี่ยม ไม่มีคม เป็นแข้งที่สวยงามที่สุด เป็นแข้งที่ตีไก่เจ็บ
 
  ๒.แข้งลำหวาย    จะ มีลักษณะแข้งคล้ายกับลำหวาย ท่อนบนใหญ่ท่อนล่างเล็ก เหมือนกับแข้งลำเทียน จะต่างกันตรงที่ผิวแข้งจะมีเหลี่ยมเล็กน้อยตามแนวของเกล็ด ผิวเกล็ดจะเผยอขึ้นเล็กน้อย เป็นแข้งที่สวยงามพอกับแข้งลำเทียน และตีไก่เจ็บเช่นกัน
๓.แข้งไม้ดัด หรือแข้งคัด    จะ มีลักษณะคล้ายกับไม้ดัด ไม้คมแฝก ด้านข้างแข้งจะออกเป็นเหลี่ยมเป็นมุม แข้งจะโตเสมอต้นเสมอปลายทรงเหลี่ยม ผิวแข้งจะขรุขระไม่ราบเรียบ เกล็ดซ้อนเผยอขึ้น เป็นไก่แข้งสวยรองจาก แข้งลำหวาย เป็นแข้งที่ตีไก่เจ็บเช่นกัน
 
  ๔.แข้งกระบองเพชร หรือกระบองยักษ์    รูป ลักษณ์เป็นแข้งกลม ข้อขาเล็กข้อเท้าใหญ่ เกล็ดราบเรียบ เป็นกำไลทั้งแข้ง ถ้ากำไลตรงเรียกปัดตลอดหรือนกเอี้ยง ถ้ากำไลเฉียงเรียกกระบองยักษ์ เป็นไก่แข้งงามต่อจากแข้งไม้ดัดหรือแข้งคัด
๕.แข้งบัวไหว หรือแข้งขุนนาง    มี รูปลักษณะเรียวยาวแบบนิ้วคน เกล็ดผิวแข้งจะเรียบ แข้งดีกล้ามเนื้อจับดูจะนิ่มนุ่มเหมือนนิ้วคน เดือยโยกคลอนอ่อนไหว เป็นแข้งสวยรองจากแข้งกระบองเพชร  ตีไก่เจ็บปวดเช่นกัน (ไม่มีรูปภาพประกอบ)
         คัดลอกจากวารสาร สนามไก่ชน รายปักษ์ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๙ ประจำวันศุกร์ที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๔

รูปลักษณ์เกล็ดแข้งด้านหน้า

    ๑.หน้าแข้ง    คือ ส่วนของแข้งด้านหน้า ตั้งแต่ข้อขาลงมาถึงปลายนิ้วทั้งสาม คือ นิ้วกลาง นาง และชี้ ของไก่ หน้าแข้งจะประกอบด้วยเกล็ดต่างๆ เรียงเป็นแถว อาจจะเป็นหนึ่งแถว สองแถว สามแถว อาจจะตรงกันตลอดหรือไม่ก็ได้ ถ้าเรียงตรงกันตลอดเป็นระเบียบถือว่าดี                       แบ่งออกได้ ดังนี้ คือ           

๑.๑.    เกล็ดด้านหน้าเรียงกันเป็นระเบียบหนึ่งแถว ถ้าเรียงกันตรงลงมาถึงข้อเท้า เรียกว่ากำไลปัดตลอด ถ้าเรียงกันเฉียงลงมาถึงข้อเท้าเรียกพันลำ ถือว่าดี
    เกล็ดกำไลพันลำ ภาพจากนิตยสาร สัตว์ปีก เพื่อนไก่ชน ฉบับที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๓

*** ประเภท เกล็ดกำไล คือ เกล็ดคาดเต็มแข้งไก่ด้านหน้าจากด้านซ้าย ไปข้างขวา เป็นเกล็ดเดียวไม่มีรอยแตกหรือรอยขาด เกล็ดกำไลที่สำคัญและมีอิทธิฤทธิ์พิษสง มีอยู่ ๗ ชนิด คือ
๑.๑.๑.กำไลปัดตลอด คือ เกล็ดกำไลคาดตรงตลอดจากข้อขาถึงข้อเท้าแบบเกล็ดนกเอี้ยงเป็นเกล็ดกำไลที่สวย งามมาก มีอิทธิฤทธิ์พิษสงตีเจ็บปวดลึกแบบโดนฟาดด้วยไม้กระบอง เอาชนะคู่ต่อสู้ได้ง่าย ไก่กำไลปัดตลอดมักจะตีลำตัวได้เจ็บ ถ้าขึ้นหัวได้จะตีให้แพ้เลย
๑.๑.๒.กำไลพันลำ คือ เกล็ดกำไลคาดเฉียงตลอดจากข้อขาถึงข้อเท้า แบบลายกระบองยักษ์ เป็นเกล็ดกำไลที่สวยงาม พอๆกับกำไลปัดตลอด มีอิทธิฤทธิ์พิษสงแบบไม้กระบองยักษ์ ตีเจ็บปวดลึก เอาชนะคู่ต่อสู้ได้ง่าย เช่นเดียวกับเกล็ดกำไลปัดตลอด
๑.๑.๓.กำไลหนุ มานนั่งแท่น คือ เกล็ดกำไลคาดตรงหรือเฉียงจากข้อขาบนปกลงมา ๓ เกล็ดติดๆกัน ถ้ามี สองข้างยิ่งดี เรียกว่าหนุมานนั่งแท่น หรือหนุมานครองเมือง เป็นเกล็ดกำไลที่สวยงามอีกเกล็ดหนึ่ง มีอิทธิฤทธิ์พิษสงแพ้ยาก เชื่อว่าแม้ถูกตีจนหักจนชักก็สามารถฟื้นคืนกลับมาเอาชนะได้  เป็นไก่อึดทนแข็งแรงเก็บอาการได้ดี ภาพจากนิตยสารสนามไก่ชน ฉบับปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๒ ประจำวันศุกร์ที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๕ 

๑.๑.๔.กำไลขน ปกหรือผมตก คือ เกล็ดกำไลคาดตรง ตรงข้อขากับขนมีขนข้อขาย้อยมาปิด เรียกขนปกหรือผมตก มีอิทธิฤทธิ์คล้ายแต่ด้อยกว่ากำไลหนุมานนั่งแท่น ภาพจาก นิตยสารสนามไก่ชน ฉบับปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๒ ประจำวันศุกร์ที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๕   ได้ตกแต่งภาพเพื่อให้เห็นส่วนที่เป็นกำไลขนปกชัดเจนขึ้น
๑.๑.๕.กำไลคาดเดือย คือ เกล็ดกำไลคาดตรงหรือเฉียงอยู่ตรงหน้า ถ้ามีทั้งสองข้างยิ่งดี เป็นกำไลสวยงามเช่นกัน มีอิทธิฤทธิ์พิษสงมาก ไก่กำไลหน้าเดือยสองข้างจะแทงแม่น ตีเดือยจัด จะได้ชัยชนะเหนือคู่ต่อสู้อย่างรวดเร็ว
๑.๑.๖.กำไลเหนือเดือยและกำไลใต้เดือย  คือ เกล็ดกำไลคาดเหนือเดือยขึ้นไป หรือต่ำกว่าเดือยลงมา ถ้ามีเหมือนกันทั้งสองข้างตรงกันจะดียิ่ง มีอิทธิฤทธิพิษสงคล้ายกำไลขนปกแต่ด้อยกว่า
๑.๑.๗.กำไลฟ้าผ่าหรือกำไลเพชร คือ เกล็ดกำไลที่คาดเรียงแบบกำไลพันลำและมีรอยแตกผ่าลงมาประมาณครึ่งเกล็ดแต่ไม่ ถึงกำไลขาด เรียกว่ากำไลฟ้าผ่าหรือกำไลเพชร เป็นไก่ตีเจ็บ ตีแตก ตีหัก ตีชัก
    (***จากนิตยสาร กีฬาไก่ชน ฉบับปีที่ ๑ ฉบับที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ คอลัมน์ลักษณะไก่เก่ง)
       
๑.๒.    เกล็ดด้านหน้าเรียงกันเป็นระเบียบสองแถว ถ้าเรียงกันสองข้างตรงตลอด ถึงข้อเท้าเรียก ร่องน้ำปัดตลอด ถ้าเรียงสลับขบสับกันสองแถว ตลอดถึงข้อเท้า เรียกจระเข้ขบฟันถือว่าดี
เกล็ดสองแถว ภาพจากนิตยสาร สนามไก่ชน ฉบับปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๒ ประจำวันศุกร์ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๔

                           
๑.๓.    เกล็ดด้านหน้าเรียงกันเป็นระเบียบสามแถวตลอด เกล็ดแถวกลางเรียงตรงมาต่อกับเกล็ดนิ้วกลาง เกล็ดแถวริมในเรียงตรงมาต่อกับเกล็ดนิ้วชี้(นิ้วใน) เกล็ดแถวริมนอกเรียงตรงมาต่อกับเกล็ดนิ้วนาง(นิ้วนอก)   ถ้าเรียงต่อกันแบบปูแผ่นกระเบื้องพื้น เรียกปัดตลอด ถ้าเรียงต่อกันแบบมุงหลังคา เกล็ดซ้อนกัน บนทับล่าง เรียกพญาครุฑ ถือว่าเป็นเกล็ดดี
เกล็ดสามแถว  ภาพจากนิตยสาร สนามไก่ชน ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๙ ประจำวันศุกร์ที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๔
        ๑.๔.    เกล็ดรูปแบบต่างๆ เกล็ดหน้าเรียงกันเป็นระเบียบเป็นแถวตลอดตั้งแต่ข้อขาลงมาถึงบริเวณหน้า เดือย มีเกล็ดเป็นรูปลักษณ์ต่างๆ เช่น กากบาท ดอกจัน ดาวล้อมเดือน บัวตูม บัวบาน และอื่นๆถือว่าดี
เกล็ดดาวล้อมเดือน
เกล็ดกากบาท
เกล็ดบัวบาน
เกล็ดบัวตูม
๑.๕.เกล็ดเหน็บเกล็ดแตก    มีเกล็ดเล็กๆขึ้นเหน็บหรือแซมที่หน้าแข้งหรือนิ้ว หรือมีรอยแตกรอยผ่าที่เกล็ดหน้าแข้ง หรือนิ้ว  ถือว่าดี เช่น
๑.๕.๑.เกล็ด เหน็บหรือแตกหน้าเดือย    คือเกล็ดเล็กที่ขึ้นเหน็บซ้อนใต้เกล็ดหน้าบริเวณหน้าเดือย ถ้ามีที่ขาทั้งสองข้างถือว่าแทงยับ  ไก่เหน็บหน้าเดือยถ้าที่มีที่ขาข้างเดียว เรียกว่าเกล็ดขัด และถ้ายิ่งหงอนไม่เลยลูกตา เชื่อว่าไม่คุ้มลูกตาข้างเหน็บ    ถ้าปล้ำชน ตาข้างที่เกล็ดขัดมักบอด ภาพจากนิตยสาร สนามไก่ชน ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๐ ประจำวันศุกร์ที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๓
       ๑.๕.๒.เกล็ดเหน็บหรือแตกนิ้วใน(นิ้วชี้)    เรียกว่า เหน็บใน  จะเป็นไก่ตีเจ็บตีหักตีชัก ถ้าเหน็บสองข้างๆละหลายเกล็ดตรงกัน ถือว่าดีมาก ตีหนักตีหักตีชักให้คู่ต่อสู้แพ้เลย  ถ้าเหน็บสองข้างไม่ตรงกัน จะตีหักตีชักต้องตีหลายครั้งคู่ต่อสู้จึงจะแพ้   ถ้าเหน็บข้างเดียวจะตีไก่เจ็บมีหักมีชัก แต่ไม่ถึงกับวิ่งหนีแบบชนิดแรก แต่ถ้าเกล็ดแตกไม่ถึงกับเหน็บหรือซ้อน ถือว่าเป็นไก่แข้งคม ตีแตกเกิดบาดแผล มีหักเล็กน้อย
    ๑.๕.๓.เกล็ดเหน็บหรือแตกบริเวณข้อนิ้วกลาง เรียกขุนแผนสะกดทับ จะเป็นไก่ตีไก่หยุดหมด เก่งสะกดคู่ต่อสู้ได้ 
  ๑.๕.๔.เกล็ดแตกบริเวณนิ้วทุกนิ้วทั้ง ๘ นิ้ว กี่เกล็ดก็ได้ เรียก จักรนารายณ์ เป็นไก่ตีหักตีชัก ทำลายคู่ต่อสู้ได้ง่ายๆ
    ๑.๕.๕.เกล็ดแตกปลายนิ้วทุกนิ้วทั้ง ๘ นิ้ว เรียก ผลาญศัตรู จะเป็นไก่ตีเจ็บมาก มีหักมีชักถึงแพ้พิการหรือตาย จะแก้ปราบไก่ได้ทุกตัว จะไม่ยอมแพ้ไก่ใด ถ้าแตกไม่ครบ ๘ นิ้ว จะเป็นไก่ตีเจ็บตีหัก แต่ไม่ถึงตาย 
    ๑.๕.๖.เกล็ดก้อยแตกทุกเกล็ดทั้งสองก้อย เรียก ไชบาดาล จะเป็นไก่ตีเจ็บปวดมาก มีหักมีชัก อาจพิการหรือตายได้ เช่น เกล็ดผลาญศัตรู  ถ้าแตกปลายนิ้วเข้ามา หรือจากเกล็ดติดเล็บมาข้างละ ๓เกล็ดถือว่าดีแล้ว อย่างน้อยต้องให้เกล็ดปลายสุดติดเล็บแตกถึงจะดี
***เกล็ด เหน็บ-เกล็ดแตก ทั้งสองอย่างนี้ บางตำราว่าเหมือนกัน แต่ท่าน อาจารย์พน นิลผึ้ง ได้ให้ทัศนะว่าน่าจะแตกต่างกัน เกล็ดเหน็บเป็นเกล็ดเล็กๆขึ้นซ้อนอยู่ใต้เกล็ดใหญ่อื่นๆในแข้ง ไก่                                ส่วนเกล็ดแตก คือ เกล็ดที่มีรอยแยกแตกออกเป็นส่วนๆ แบ่งเกล็ดนั้นออกเป็นสองหรือสามส่วน
***จากนิตยสารสนามไก่ชน ฉบับปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๒ ประจำวันศุกร์ที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๕ คอลัมน์ ศาสตร์และศิลป์เกล็ดพิฆาต

๒.ท้องแข้ง    คือ ส่วนของแข้งที่อยู่ด้านหลังตรงข้ามกับหน้าแข้ง ตั้งแต่ข้อขาตรงน่องสิงห์ลงมาถึงปลายนิ้วก้อย ท้องแข้งที่ดีจะต้องอิ่ม นูน เต็มไม่ฟีบแบนหรือโบ๋

 
๒.๑.เกล็ดบัวแข้งหรือเกล็ดพลายน้ำ 
จะ ขึ้นจากข้อขาบนตรงน่องสิงห์เรียงลงมาตามสันหลังแข้ง ถ้าเรียงตรงแบบปูกระเบื้อง ถือว่าธรรมดา  ถ้าเรียงซ้อนกันลงมาแบบมุงหลังคา ถือว่าดี ถ้าเรียงหงายขึ้นถือว่าธรรมดา ถ้าเรียงคว่ำถือว่าดี ถ้าเรียงลงมาไม่ถึงเดือยหรือแค่ครึ่งแข้งกว่าถือว่าไม่ดี เรียกบัวขาด หรือถอดหัวหนี จะถอดใจง่าย เวลาชน ไม่อดทน ถ้าเกล็ดบัวเรียงลงมาเลยเดือยมากๆ ถึงถุงเงินถือว่าดี อดทน แพ้ยาก ถ้าเกล็ดบัวหลังแตก ถือว่าดี แข้งคม ตีไก่ได้เลือด มีหักมีชัก
๒.๒.เกล็ดเม็ดข้าวสาร เม็ดข้าวโพด คือ เกล็ดด้านหลังแข้งตรงท้องแข้งที่ขึ้นเรียงต่อจากเดือยขึ้นไปหาข้อขาบน ถ้าเกล็ดเต่งยาวเรียกเม็ดข้าวสาร ถ้าเกล็ดเต่งกลมเรียกว่าเม็ดข้าวโพดถือว่าดี ถ้าเกล็ดเม็ดข้าวสารหรือเม็ดข้าวโพดลีบแบน เรียกอันบอด ถือว่าไม่ดี
    ๒.๒.๑.เกล็ดเม็ดข้าวสาร เม็ดข้าวโพด ขึ้นต่อจากเดือยเรียงตรงขึ้นไป ถึงข้อขาบนได้ ๑๒ เกล็ด ถือว่าสุดยอด เรียกข้าวสารพระอินทร์ จะตีไก่เจ็บปวดมาก และไม่แพ้ใคร ถ้าเลี้ยงดีเปรียบดี
    ๒.๒.๒.เกล็ดเม็ดข้าวสาร เม็ดข้าวโพด เรียงไม่เป็นระเบียบ ขนาดไม่สม่ำเสมอ ถือว่าสับสน เล่นต้องระวังอย่าเผลอ ให้ดูตรงเม็ดที่ขัดออกนอกแถว ถ้าเต่งจะดี ถ้าบอดจะไม่ดี จะเล่นหรือจะออกตัวให้พิจารณาดูตรงนี้  เพราะเกล็ดเม็ดข้าวสาร เม็ดข้าวโพดจะเป็นตัวบ่งบอกอันไก่ว่าอันไหนดี อันไหนไม่ดี ชนได้ประมาณกี่อัน เช่น ถ้าเกล็ดเม็ด ๑-๒-๓ ใหญ่    แต่ตรงเม็ดที่ ๔ เล็กบอดและขัดออกมานอกแถว ไก่จะเป็นรองในอันนั้น หรือแพ้อันนั้น ถ้าเกล็ดเม็ด ๑-๒-๓ เล็กเฉ เม็ด ๔-๕-๖ ใหญ่ ตรงเม็ดที่ ๖ ใหญ่มาก ไก่จะเป็นต่อและอาจชนะในอัน ๖ ให้เริ่มเล่นได้ในอันที่ ๔ ไก่ที่มีเม็ดข้าวสารมากๆดีกว่า มีเกล็ดเม็ดข้าวสารเม็ดข้าวโพดน้อย
    ๒.๒.๓.เกล็ดเสริมเม็ดข้าวสาร คือ เกล็ดที่ขึ้นคู่ด้านข้างเกล็ดเม็ดข้าวสาร ขาทั้งสองข้าง ถ้าเกล็ดเสริมเม็ดข้าวสารมีข้างละสองแถวเรียงตรงกันขึ้นไป เม็ดเกล็ดเต่งตึง แบบเม็ดข้าวสาร ถือว่าดี ตีไก่เจ็บมาก ค่อนข้างหายาก
๒.๓. เกล็ดสังวาลย์หรือสร้อยสังวาลย์    เป็นเกล็ดด้านข้างอยู่ด้านนอกของแข้งไก่ เรียงตั้งแต่บริเวณเดือนขึ้นไปถึงข้อขาบนทั้งสองข้างขา ถ้าเกล็ดสังวาลย์มีข้างละสามแถวตลอด จะเป็นไก่รักศักดิ์ศรี รักเดิมพันจะไม่ยอมแพ้ไก่ใด ถ้าสองแถวพอใช้ได้ ถ้าแถวเดียวเม็ดเต่งจะเป็นไก่ตีเจ็บปวดดี เกล็ดสังวาลย์จะบ่งบอกความสมบูรณ์ของไก่ ถ้าเกล็ดสีสด ไก่สมบูรณ์          ถ้าเกล็ดสีซีดไก่ไม่สมบูรณ์
๒.๓.๑.เกล็ด สังวาลย์เพชร คือ เกล็ดแข้งขึ้นเรียงคู่กับเกล็ดสร้อยสังวาลย์ด้านติดกับบัวหลังลักษณะเกล็ด เหมือนๆเกล็ดบัวหลัง เรียงจากบริเวณเดือยขึ้นไปถึงข้อขา มีอิทธิฤทธิ์พิษสงร้ายแรง ตีไก่ล้มได้
     ๒.๓.๒.เกล็ดเต๋า เป็นเกล็ดกลุ่มเล็กๆกลุ่มละ ๔,๕,๖ คล้ายจุดบนลูกเต๋า จะอยู่ด้านข้างแข้งใต้เกล็ดสร้อยสังวาลย์และเกล็ดบัวหลังลงมาแถวใต้เดือยถึง ก้อย มีลักษณะคล้ายเกล็ดดาวล้อมเดือน เป็นเกล็ดเสริมความดีของไก่ เป็นไก่พลิกผันไปในทางดีได้ ถ้าเป็นรองก็จะเป็นต่อได้ เรียกว่ารองเล่นได้

๒.๓.๓.เกล็ดพวงมาลัย คือ เกล็ดที่ขึ้นล้อมรอบเดือยเหมือนพวงมาลัยล้อมผมจุกเด็กเป็นไก่ใช้ตอแทงจัด 

  ๒.๓.๔.เกล็ดเชลยหรือเกล็ดเดิมพันหรือเกล็ดประทัดช้าง  เป็นเกล็ดขึ้นต่อจากโคนนิ้วก้อยขึ้นอ้อมเดือยด้านในเรียงขึ้นไปถึงข้อขาบน ถือว่าเป็นไก่รักเดิมพัน มีเชลยหรือตัวแพ้มาเป็นคู่ชนของมัน ยิ่งตีเดิมพันยิ่งแพงยิ่งดี ได้คู่หมู จะชนะแบบไม่เจ็บตัว เวลาเปรียบให้สังเกตถ้ามันรบเร้าจะจิกตีไก่ตัวใดหรือไก่ตัวใดรบเร้ามาเปรียบ บ่อยๆ ให้เอาตัวนั้นจะชนะได้ง่ายๆ
  
๒.๓.๕.เกล็ดไชบาดาล คือ เกล็ดก้อยด้านหลังแตกทุกเกล็ดทั้งสองข้าง เป็นไก่ตีหักตีชัก ตีไก่แพ้ได้ง่าย

เกล็ดพิฆาต

    คือ เกล็ดพิเศษในไก่ที่แสดงว่าไก่นั้นมีลำแก้ ลำหัก ลำโค่น สามารถเอาชนะไก่ได้ง่าย เช่น เกล็ดเสือซ่อนเล็บ เหน็บใน ไชบาดาล ผลาญศัตรู งูจงอาง จักรนารายณ์ สังวาลย์เพชร ฟ้าผ่า พญานาค จระเข้ขบฟัน หนุมานนั่งแท่น ราหูอมจันทร์ เป็นต้น

รวมภาพเกล็ดไก่

รูปลักษณะของแข้ง เกล็ดถุงเงิน จะมีลักษณะเป็นอุ้งนูนอยู่ใต้เดือย
ลักษณะแข้งกำไลพันลำ และถ้าสังเกตที่นิ้วนอกด้านขวา จะมีแตกด้วย
ภาพ แข้งไก่ ชื่อ " ทองรี" จากซุ้ม ช.ชัยภูมิ          หน้าแข้งซ้าย กากบาทหน้าเดือย  (แต่งภาพให้เห็นชัด ขึ้น)                                                      หน้าแข้งขวา กำไลหน้าเดือย แข้งหลังกลมนูน เดือยกรามมีหมอนรองเดือยล่างบน  เกล็ดเดิมพันสูง
 

การดูลักษณะไก่เก่งตอนเล็กๆ

ไก่เก่งหรือไก่ที่จะมีลักษณะชั้นเชิงฝีตีนดีเมื่อโตขึ้น เราสามารถดูลักษณะของมันตั้งแต่อายุได้ 2-3 เดือน คือมันจะแสดงจุดเด่นหรือมีแววตั้งแต่เล็กๆเลยทีเดียว ผู้เขียนเพาะเลี้ยงไก่มากว่า 25 ปี เฝ้าสังเกตดูลูกไก่มาคอกแล้วคอกเล่า ปรากฏว่าไก่ที่เก่งมันจะฉายแววให้เราเห็นตั้งแต่เล็กๆ ลักษณะท่าทางและพฤติกรรมต่างๆที่มันแสดงออกบ่งบอก ว่ามันจะเป็นไก่เก่งเมื่อโตขึ้นมีโดยสังเขปดังนี้

1. ลูกไก่ตัวที่ชอบแตกฝูง หมายถึง ลูกไก่ตัวที่ไม่ชอบอยู่ในฝูง เวลาแม่ของมันพาไปคุ้ยเขี่ยหากินมันมักจะแยกตัวออกห่างไปหากินห่างจากแม่ของมันเพราะโดยปกติแล้วลูกไก่เล็กๆ  มันจะคอยติดตามแม่ตลอดเวลา ยิ่งมีอายุมากขึ้นมันจะแยกตัวออกไปหากินห่างแม่ยิ่งขึ้นแสดงให้เห็นว่าลูกไก่ตัวนั้น
มีจิตใจเข้มแข็งไม่กลัวใครตั้งแต่เล็กๆ ซึ่งเป็นลักษณะ ของไก่เก่งทุกตัวทีมีจิตใจเป็นนักสู้ไม่กลัวใคร ข้อควรระวัง ลูกไก่ที่แยกตัว
ออกไปหากินห่างแม่ของมันมักจะไม่ค่อยรอดปากเหยี่ยวปากกาและสัตว์ร้ายอื่นๆ เช่น หมา แมว ในกรณีที่ปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ
ที่เหลือก็เป็นไก่ไม่ค่อยเก่ง

2. ลูกไก่ตีหย่าแม
ลูกไก่ชนโดยทั่วไปเมื่อมีอายุได้ 2- 3 เดือนมันจะเริ่มตีกันเพื่อแย่งกันเป็นจ่าฝูงหลังจากนั้นแม่ของมันจะ
ทิ้งเราเรียกว่า "ตีหย่าแม่" สมกับคำที่กล่าวกันว่า "เกิดเป็นไก่ (ชน) ต้องชน เกิดเป็นคนต้องสู้" หรือฝรั่งเขาว่าไก่เป็น
สัตว์ประเภท "Born to fight"

- ลูกไก่ตัวใดที่ไม่ค่อยสู้ไก่ หรือสู่ไม่นานก้ยอมแพ้ ลูกไก่ตัวนั้นเมื่อโตขึ้นชั้นเชิงฝีตีนอาจจะมีตามสายพันธุ์ แต่จิตใจไม่ค่อย
เต็มร้อย และมักจะเป็นไก่ที่สมบูรณ์ สวยงามเพราะการเจริญเติบโตไม่หยุดชงักเหมือนตัวที่ตีกันมากๆและไม่ค่อยมีรอยตำหนิ
ิบริเวณหัวและหัวปีก ทั้งนี้ลูกไก่คอกหนึ่งๆ จะไม่เก่งทุกตัว เช่นเดียวกับคนเรายังมีความเฉลียวฉลาดนิสัยและความถนัดไม่
เหมือนกัน เช่น บางคนเล่นกีฬาเก่ง บางคนรักสวยรักงาม บางคนขี้โรค เป็นต้น ทั้งๆที่เป็นพี่น้องท้องเดียวกัน ด้วยเหตุนี้นัก
เลี้ยงไก่จึงนิยมเพาะไก่เอง เพราะได้รู้เหล่ารู้สายพันธุ์ รู้ลีลาชั้นเชิงในการชนของมันตั้งแต่ปู่ย่าตายายและยังรู้นิสัยใจคอมันมาตั้ง
แต่เล็กๆ ไม่ใช่ดูแต่ความสวยงาม หรือลักษณะโหวเฮ้งดีเพียงอย่างเดียว

หรืออีกประการหนึ่ง การเพาะไก่เองยังได้รู้นิสัยใจคอของมัน ซึ่งแต่ละตัวไม่เหมือนกัน ตลอดจนความสมบูรณ์ของร่างกาย ไก่ที่ขี้โรคมาตั้งแต่เล็กโตขึ้นจะไม่เก่งแม้ว่าจะมีลีลาชั้นเชิง ฝีตีนดีขนาดไหนก็เป็นไก่เก่งไม่ได้ เพราะร่างกายไม่แข็งแรง ไก่เก่งต้องสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจและฝีตีน

- ลูกไก่ตัวใดที่มักจะสู้กับไก่ในฝุงทุกตัว เที่ยวเกะกะระรานเขาไปทั่ว ตีตัวหนึ่งแพ้แล้วจะไปตีอีกตัวหนึ่งจนชนะเขาหมดกลาย
เป็นจ่าฝูง ไก่ตัวนั้นถ้าอยู่รอดไม่แคระแกร็นหรือพิการไปเสียก่อน รับรองได้ว่าไก่ตัวนั้นมักจะเป็นไก่เก่ง อนาคตถึงบ่อนทุกตัว
ใครที่เพาะไก่ถ้าปรากฎว่ามีลูกไก่ตัวใดเข้าลักษณะดังกล่าวข้างต้นให้รีบแยกออกมาขังเดี่ยวประมาณ 1- 2 อาทิตย์ก็จะเลิกตีกัน

ไปเอง มิฉะนั้นลูกไก่ตัวรั้นอาจพิการและเสียไก่ไปตั้งแต่เล็กๆ ในการเพาะเลี้ยงไก่แบบปล่อยตามธรรมชาติตามชนบททั่วไปลูก
ไก่ตัวเก่งมักไม่ค่อยรอดถ้ารอดก็มักจะตัวเล็กกว่าเพื่อน

ในการไปซื้อหาไก่ตามชนบทที่มีไก่หนุ่มเป็นฝูงๆนั้นผู้เขียนมักจะเลือกไก่ตัวที่เป็นจ่าฝูงและมีรอยที่ถูกตีแถวหัว หน้าตา โดยเฉพาะหัวปีกถ้ามีรอยจิก ยิ่งแสดงให้รู้ว่าไก่ตัวนั้นเชิงชนหัวลึกเวลาถูกกอดไม่หงายไพล่ จึงถูกจิกหัวปีก ซื้อได้เลยรับรองไม่ผิดหวัง ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งไก่ที่เป็นจ่าฝูงมักมีขนาดเล็กกว่าไก่ตัวอื่นๆในฝูงเพราะในช่วงเล็กๆตี กับเขาไปทุกตัวเลยแกร็น ส่วนตัวใดที่สวยงามรอยโต หน้าตาไม่มีรอยขีดข่วน แสดงว่าไก่ตัวนั้นตอนเล็กๆใจไม่ถึง ไม่ค่อยสู้ใครเอาแต่กินจึงโตกว่าเพื่อน

3. ลูกไก่ตัวที่สู้กับไก่ที่ใหญ่กว่า ไม่กลัวหมากลัวแมวหรือไม่ค่อยกลัวอะไรแสดงให้รู้ว่าไก่ตัวนั้นใจเต็มร้อยโตขึ้นต้องเป็น
ไก่ที่มีจิตใจเป็นนักสู้ สู้ไม่ถอย ดูแลให้ดีอย่าปล่อยให้ตีกับไก่ใหญ่ อาจเสียไก่ได้

4. ลูกไก่ที่เวลาเราจับมักดิ้น โดยเฉพาะเวลาจับปาก จับคอ จับคาง จับตุ้มหู มักจะดิ้นสบัดหลุด หรือจิกเจ้าของ หรือคนจับ แสดงให้เห็นว่าไก่ตัวนั้นมีจิตใจเป็นนักสู้ ไม่ยอมอะไรง่ายๆ มีความพยายาม เวลาตีจะเป็นไก่ไม่ยอมคู่ต่อสู้ถือว่าจิตใจใช้ได้หนี
ไม่เป็น

5. ลูกไก่ที่มักจะขันตั้งแต่อายุยังน้อย
คืออายุประมาณ 4 -5 เดือน เรียกว่าแก่แดด มักจะเป็นไก่เก่งใจเกิน 100 คือเป็นลูกไก่
ที่พยายามเป็นไก่ใหญ่ หรือมีจิตใจเกินตัว เวลาต่อสู้กับคู่ต่อสู้ เป็นไก่ที่มีจิตใจทรหดอดทนหนีไม่เป็น

ลักษณะพฤติกรรมเด่นๆ ดังที่กล่าวมามันเป็นเรื่องพันธุกรรมที่ถ่ายทอด มาจากพ่อแม่และปู่ย่าตาทวดของมันหรือยีนที่แสดงออก
ถึงเทือกเถาเหล่ากอ (Pedigree)

แต่จะมีความเด่นมากน้อย แตกต่างกันออกไปไม่เหมือนกันทุกตัว บางตัวมีมาก บางตัวมีน้อย และมีจุดเด่นจุดด้อยไม่เท่ากัน บางตัวจิตใจไม่เต็มร้อย แต่รูปร่างอาจสวยงาม บางตัวรูปร่างไม่สวยงามแต่มีจิตใจเป็นนักสู้เกินร้อย สิ่งเหล่านี้คนเพาะเลี้ยงไก่
ต้องสังเกตบันทึกข้อมูลต่างๆ แล้วจะเข้าใจได้เอง

ความลับของไก่เก่ง ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่ามันอยู่ในกมลสันดานของมันมาตั้งแต่เล็กๆ ทำไมไก่บางตัวมีลักษณะดีสวยงาม ทั้งใบ
หน้า รูปร่าง เกล็ด แข้งดี ถูกต้องตามตำราโหวเฮ้งไก่เก่ง แต่ทำไม? จึงตีไม่เก่ง ไม่มีความพยายามในการต่อสู้ ผู้เขียนคิดว่าส่วน
ใหญ่แล้วเพราะใจมันไม่สู้ ใจไม่ถึงพอถูกตีเจ็บถูกโต้เจ็บมักจะถอดใจง่ายผิดกับบางตัวยิ่งเจ็บยิ่งสู้ ยิ่งมีมานะอาฆาต พยายามตี
ีคู่ต่อสู้ให่เจ็บกว่า นอกจากนี้ ไก่เก่งต้องเป็นไก่ที่ฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบในเชิงชนของมันรู้จักหลบหลีกแก้เชิงหรือแก้ทางของ
คู่ต่อสู้ได้ สิ่งเหล่านี้เราไม่สามารถฝึกสอนมันได้แต่มันจะมีของมันเอง

ไก่เก่งทุกตัวมักจะมีคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของมันเองไก่บางตัวอาจมีสติปัญญาเป็นเลิศเหนือคุณสมบัติอื่นๆทั้งหมด หรือไก่เชิงจะมีลีลาชั้นเชิงในการต่อสู้เป็นเลิศ แต่คุณสมบัติในด้านความทรหดอดทนอาจจะน้อย ไก่บางตัวอาจจะไม่ค่อยฉลาด
แต่จะมีคุณสมบัติในด้านความทรหดอดทนเป็นเลิศ มีพลังจิตหรือแรงฮึดสู้ได้จนลมหายใจสุดท้ายเรียกว่า ยอมตายคาสังเวียน
ซึ่งพบเห็นได้บ่อยในสนามกีฬาชนไก่ ส่วนไก่ที่มีความฉลาดและทรหดอดทนพร้อมมั้นมีน้อยหายาก ใครมีก็ถือว่าโชคดีครับ

 ปัจจุบันไก่
ความสำคัญ

        
  ไก่พื้นเมือง ตามประวัติศาสตร์ มีรายงานไว้ว่าเป็นไก่ที่มีต้นกำเนิดมาจากไก่ป่าในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น
ไทย มาเลเซีย และจีนตอนใต้  ซึ่งมนุษย์ได้นำมาเป็นสัตว์เลี้ยงเมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อน  หลังจากที่มนุษย์นำไก่มาเลี้ยง ไก่และมนุษย์ดำรงชีวิตแบบพึ่งพา
อาศัยซึ่งกันและคน ไก่อาศัยการเลี้ยงดูและการป้องกันอันตรายจากมนุษย์ ในขณะที่มนุษย์อาศัยไก่และไข่เป็นอาหาร เป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เรียกว่า
เป็นขบวนการวิวัฒนาการของสัตว์และมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
การวิวัฒนาการของไก่เป็นไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์เจ้าของซึ่งก็ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ
บางปีเกิดภัยธรรมชาติรุนแรง สัตว์เลี้ยงตายลง หรือมีโรคระบาดรุนแรง ไก่จะตายมากแต่ไม่ตายหมด จะมีเหลือให้ขยายพันธุ์จำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้วจะ
เหลือต่ำกว่า 10% ซึ่งจำนวนนี้จะขยายพันธุ์เพิ่มจำนวน ตัวที่แข็งแรงทนทานเท่านั้นจึงจะอยู่รอดจึงเป็นการคัดเลือกโดยธรรมชาติจน เป็นไก่พื้นเมืองสืบทอด
มาให้เราได้ใช้ประโยชน์ถึงทุกวันนี้  ดังนั้น ไก่พื้นเมืองจึงเป็นมรดกวัฒนธรรมและเทคโนโลยีชีวภาพที่หลากหลาย เป็นทรัพย์สินภูมิปัญญาของชาวบ้าน
โดยแท้  ชาวบ้านจดจำและเข้าใจการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและไก่พื้นเมืองควบคู่กันตลอด มา ส่วนใหญ่แล้วคนจะอาศัยไก่มากกว่าไก่อาศัยคน คือ ไก่สามารถ
คุ้ยเขี่ยหากินเองได้ตามธรรมชาติ ส่วนคนเมื่อไม่มีอาหารและไม่มีเงินใช้เล็กๆ น้อยๆ ก็จะต้องอาศัยไก่เป็นผู้ให้
             ดังนั้น ไก่พื้นเมืองจึงเป็นไก่ที่วิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพันธุ์มาโดยอาศัย พื้นฐานของธรรมชาติเป็นหลัก จึงทำให้ไก่พื้นเมืองมีหลากหลาย
สายพันธุ์ แต่ละพันธุ์ก็จะมีจุดเด่นเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว เข่น ความต้านทานโรคและแมลง สามารถเติบโตและขยายพันธุ์ภายใต้สภาพแวดล้อมการเลี้ยงดู
ของเกษตรกรในชนบทโดยเฉพาะรายย่อย จึงเหมาะที่จะทำการอนุรักษ์และพัฒนาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
 
     

     
  การอนุรักษ์และการพัฒนาไก่พื้นเมือง

           
 การ อนุรักษ์ หมายถึง การรักษาดำรงไว้ซึ่งแหล่งพันธุกรรมไก่พื้นเมืองและรวมไปถึงการนำมาใช้ให้ เป็นประโยชน์แบบยั่งยืน คือ ใช้แล้วไม่หมดไป
สูญหายไป ทั้งนี้เพราะไก่พื้นเมืองมีพันธุกรรมที่ดีในเรื่องรสชาดและความอร่อยเป็น คุณสมบัติเฉพาะ การอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมสัตว์โดยทั่วไปมี 2 แบบ
คือ การอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดเดิม และนอกถิ่นกำเนิด แต่การอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดเดิม คืออยู่กับเกษตรกรโดยตรงจะเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด เพราะว่าจุดประสงค์ของการอนุรักษ์มุ่งเน้น เพิ่มรายได้เกษตรกรรายย่อย และการอนุรักษ์โดยวิธีนี้จะสามารถรักษาและดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายในด้าน
แหล่งพันธุกรรมหรือสายพันธุ์ ลดความเสี่ยงต่อการสูญหาย เพราะไก่ในแต่ละครอบครัวของเกษตรกร จะมีคุณสมบัติทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน เช่น อัตรา
การเจริญเติบโต ขนาดของลำตัว สีขน ความยาวของแข้ง หรืออวัยวะต่างๆ จะผันแปรไปตามสภาพแวดล้อม โดยไก่จะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ
แต่เนื่องจาก การศึกษาและวิจัยประสบการณ์ของผู้รายงานนี้พบว่า การแสดงออกทางพันธุกรรมของไก่พื้นเมืองเห็นได้ชัดเจน เมื่อไก่นั้นอยู่ในสภาพ
ธรรมชาติที่อาหารการกินไม่อุดมสมบูรณ์ เช่น ในช่วงที่อาหารขาดแคลน หรือคุณภาพอาหารไม่สมดุลจะเห็นว่าการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์จะ
แปรปรวนเห็นได้ชัดจากที่ไม่สามารถขยายพันธุ์ไปจนถึงขยายพันธุ์ได้จำนวนมาก มายภายใต้สภาพแวดล้อมอันเดียวกัน ซึ่งเป็นการปรับตัวเข้ากับสภาพ
แวดล้อม และวิวัฒนาการไปตามการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติเศรษฐกิจและสังคม จึงนับได้ว่าการอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดเดิมจึงเป็นวิธีการอนุรักษ์ที่ถูกต้อง
ที่สุด ได้รับการยอมรับสนับสนุนทั่วโลก
 
พื้นเมืองมีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ไก่แจ้ ไก่อู ไก่ตะเภา ไก่เบตง และไก่ชน ส่วนใหญ่และไก่พื้นเมืองจะเป็นสายพันธุ์ไก่ชนสังเกตได้จากแม่ไก่จะมีขนดำ
หน้าดำ และแข้งดำ หงอนหิน แต่จะมีแม่พันธุ์บางส่วนที่มีสีเทา สีทอง แต่หงอนก็ยังเป็นหงอนหิน ซึ่งเป็นลักษณะหงอนของไก่ชน เหตุที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงไก่พื้นเมือง
พันธุ์ไก่ชน เพราะว่าไก่ชนมีรูปร่างใหญ่และยาว เจริญเติบโตดี และแม่พันธุ์ก็ไข่ดก เนื่องจากนักผสมพันธุ์ไก่ชนได้คัดเลือกลักษณะดีเด่นไว้อย่างต่อเนื่องนับ ร้อยปีมาแล้ว
เกษตกร เพื่อนบ้านจะขอซื้อขอยืมหรือขอไปขยายพันธุ์มากกว่าไก่พันธุ์อื่นๆ กรมปศุสัตว์ได้ทำการวิจัยผสมพันธุ์คัดพันธุ์ไก่พื้นเมืองมาตั้งแต่ ปีพ.ศ.2532 โดยเริ่มจาก
สายพันธุ์ไก่ชน จาก 17 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่การปรับปรุงพันธุ์ไม่ได้เน้นในด้านการชนเก่ง แต่เน้นในด้านการเจริญเติบโต และไข่ดก เพื่อให้สามารถ
ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว สำหรับไก่ชนไทยแท้สีขนแยกได้หลากหลาย ถึง 17 สีขน เช่น เหลืองหางขาว ประดู่หางดำ เหลืองเลา ประดู่เลา แสมดำ เป็นต้น


สายพันธุ์เหลืองหางขาว
ายพันธุ์เหลืองหางขาว
          เป็นสายพันธุ์ไก่ชน มีลักษณะ เด่นๆ คือ
          -  ปากสีขาวอมเหลือง หรือสีงาช้าง ปากสั้น อวบใหญ่คล้ายปากนกแก้ว และมีร่องน้ำชัดเจน กลางปากนูนเป็นสันข้างๆ เป็นร่องน้ำ
          -  ตาเป็นตาเหยี่ยว หัวตาแหลม ตาดำคว่ำ ตาดำเล็กและรี รอบๆ ตาตำสีขาวอมเหลือง
          -  หงอนหิน ด้านบนของหงอนบางเรียบ ปลายหงอนยาวเลยตา โคนหงอนโค้งติดกับศรีษะ
          -  ตุ้มหูสีแดงเดียวกับหงอนเล็ก ไม่หย่อนยานรัดกับใบหน้า เหนียงเล็กรัดติดคาง
          -   รูปใบหน้าแหลมยาว มีเนื้อแน่น ผิวหน้าเรียบเป็นมันกะโหลกศรีษะหนายาว
          -  ลักษณะลำตัวอกแน่น กลม มีเนื้อเต็ม กระดูกอกยาวตรง หลังเป็นแผ่นกว้างมีกล้ามเนื้อมาก
          -  หลังเรียบตรงไม่โค้งนูน ไหล่กว้างยกตั้งตรง คอใหญ่ กระดูกคอถึ่ ปั้นขาใหญ่ กล้ามเนื้อมาก เนื้อแน่น แข็งแรง ผิวหนังขาวอมเหลือง ขาวอมแดง
          -  สีขนลำตัวดำมีขาวแซมบ้างที่หัว หัวปีก ข้อขา สร้อยคอเหลืองชัดเจน ยาวประบ่า
          -  สร้อยหลังเป็นสีเดียวกับสร้อยคอเรียงกันเต็มแผ่นหลัง เริ่มจากโคนคอถึงโคนหาง เส้นขนละเอียดยาวเป็นระย้า สร้อยปีกสีเดียวกับสร้อยคอเรียงกันแน่นเต็มบริเวณหัวปีกถึงปีกชัย
        
          -  ขนหางกะลวยมีสีขาวพุ่มออกยาว เห็นเด่นชัดยิ่งขาวและยาวมากยิ่งดี ขนหางควรพุ่งตรงและยาว ปลายโค้งตกลงเล็กน้อย
          -  ขาแข้งมีเดือยขาวอมเหลืองสีเดียวกับปาก เกล็ดแข็งแน่นหนาเรียบ เดือยใหญ่แข็งแรง นิ้วยาว เล็บสีขาวอมเหลือง ไม่มีสีดำปน
          -  เพศเมียลำตัวสีดำ ปาก แข้ง หงอน และใบหน้าสีเดียวกับไก่เพศผู้

สายพันธุ์ประดู่หางดำ

         -  เป็นสายพันธุ์ไก่ชน มีปากสีดำ อูมใหญ่ โดยปากจะคล้ายปากนกแก้ว ปากบนมีร่องน้ำทั้งสองข้าง ระหว่างร่องน้ำจะเป็นสันราง
         -  ตาสีประดู่ หรือแดงอมม่วง หรือตาออกสีดำ หรือสีแดง
         -  หงอนหินไม่มีจักเลย
         -  สร้อยคอสีประดู่ยาวประบ่า ปีกใหญ่ยาว สร้อยปีกสีเดียวกับสร้อยคอ สร้อยหลังสีประดู่ยาวระย้าประก้น
         -  ขนลำตัวขนปีกและหางสีดำ กะลวยหางดำ โคนขาใหญ่
         -  หน้าอกกว้าง และยาวเนื้อเต็มแน่น
         -  ขาแข้ง เล็บและเดียยสีดำ
         -  เพศเมียสีเดียวกับเพศผู้แต่ไม่มีสร้อย


สายพันธุ์ประดู่หางดำ


สายพันธุ์เขียวกา หรือเขียวหางดำ
สายพันธุ์เขียวกาหรือเขียวหางดำ

        
 -  ลักษณะทั่วไปคล้ายๆ กับประดู่หางดำ ปากดำ
         -  หงอนหิน หน้าหงอนบางกลางหงอนสูง ท้ายหงอนจะตกกดกระหม่อม
         -  สร้อยคอหลังและสร้อยหางสีเขียว
         -  ขนปีกและลำตัวเขียว หางดำ
         -  แข้งดำ เล็บดำ

การปรับปรุงพันธุ์ไก่พื้นเมือง

           การที่จะเพิ่มมูลค่าของไก่พื้นเมืองจะ ต้องมีพันธุ์ไก่ที่ดี โดยเฉพาะไก่ชนจะต้องเป็นพันธุ์ที่แข็งแรง ในภาคกลางนิยมไก่ชนที่มีรูปร่างใหญ่ หนักประมาณ 3.0-4.5 กก. แต่ในภาคเหนือนิยมไก่ชนขนาดเล็ก น้ำหนักไม่เกิน 3.0 กก. ส่วนภาคใต้นิยมไก่ชนที่มีเดือยแหลมคม และทุกภาคชอบไก่ชนเก่ง การที่จะได้ไก่พันธุ์ดี ราคาสูง จะต้องทำการปรับปรุงพันธุ์ด้วยตัวเองอยู่อย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงพันธุ์มีหลักการโดยสรุป 2 หลัก ทำควบคู่กันเสมอๆ คือ หลักการผสมพันธุ์ กับหลักการคัดเลือกพันธุ์

           หลักการผสมพันธุ์
 มี 2 แบบกว้าง ๆ คือ
           1. การผสมพันธุ์ระหว่าง พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่ไม่เป็นญาติกัน
           2. การผสมกันระหว่างญาติพี่น้องสายเลือดใกล้ชิด เรียกว่า การผสมแบบเลือดชิด แต่ในทางปฎิบัติเราหลีกเลี่ยงการผสมเลือดชิดค่อนข้างยาก เนื่องจากมีพ่อแม่พันธุ์จำนวนจำกัด ตามทฤษฎีแล้วเราสามารถผสมได้แต่สายเลือดไม่สูงเกินกว่า 49% โดยเฉพาะการปรับปรุงพันธุ์ไก่ให้ได้เลือดบริสุทธิ์หรือพันธุ์แท้ ถ้าผสมเลือดชิดสูงถึง 49% ก็จะได้พันธุ์ใหม่ หรือพันธุ์ของเราเองซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะพันธุ์ ในทางปฏิบัติทั่วๆ ไป เราจะพยายามให้เปอร์เซนต์การผสมเลือดชิดอยู่ระหว่า 15-25% อัตราการผสมเลือดชิดนี้จะเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ดังนั้น จึงต้องวางแผนว่าในระยะ 10 ปีข้างหน้า จะให้ฝูงไก่มีเลือดชิดกี่เปอร์เซนต์ เพื่อนำไปคำนวณหาว่า ควรจะมีพ่อแม่พันธุ์ในฝูงกี่ตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น