วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2558

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ซื่อสตอเบอรี่

ใครสนใจซื่อสตอเบอรี่สามาถรสั่งซื่อได้ที่  เบอร์โทรติดต่อ090-7589-340 ....093-1452-164

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เนื้อเพลงทำดีที่สุดแล้ว

เหนื่อยใจเหลือเกิน ยิ่งไขว่ขว้ายิ่งไกลยิ่งห่าง ยอมแล้วทุกทางไม่เดินต่อไป
หมดสิ้นแรงพลัง หมดความหวังแม้เริ่มต้นใหม่ ท้อแท้เสียใจยับเยินกลับมา
ความดีสั่งสมมานานไม่เคยเพียงพอสักอย่าง ทำดีกี่ครั้งไม่เคยพอใจ
ทำผิดเพียงครั้งก็ซ้ำให้กลายไปเป็นเรื่องใหญ่ นี่ใช่ไหมผลของการทุ่มเท
ทำดีที่สุดแล้วไม่เห็นมีใครเข้าใจ ทำดีที่สุดแล้วชีวิตยังพังทลาย
ต้องอยู่สู้ทน ผ่านคืนวันอันโหดร้าย ขอได้โปรดเห็นใจ
อยากให้เธอเข้ามา จบปัญหาชี้ทางสว่าง มองเห็นหนทางก้าวเดินต่อไป
จุดประกายพลัง จุดไฟหวังให้เริ่มต้นใหม่ คอยพลิกฟื้นหัวใจให้คืนกลับมา
เพียงเธอปลอบโยนเบาๆเข้าใจตัวเราก็พอ มีเธอความท้อก็คงมลาย
เพียงเธอห่วงใยดูแลมั่นใจในชีวิตใหม่ แต่สุดท้ายไม่มีแม้เธอ
ทำดีที่สุดแล้วไม่เห็นมีใครเข้าใจ ทำดีที่สุดแล้วชีวิตยังพังทลาย
ต้องอยู่สู้ทน ผ่านคืนวันอันโหดร้าย ขอได้โปรดเห็นใจ
ความดีสั่งสมมานานไม่เคยเพียงพอสักอย่าง ทำดีกี่ครั้งไม่เคยพอใจ
ทำผิดเพียงครั้งก็ซ้ำให้กลายไปเป็นเรื่องใหญ่ นี่ใช่ไหมผลของการทุ่มเท
ทำดีที่สุดแล้วไม่เห็นมีใครเข้าใจ ทำดีที่สุดแล้วชีวิตยังพังทลาย
ต้องอยู่สู้ทน หมั่นทำดีกันต่อไป ซักวันหนึ่ง

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การให้อาหารไก่ไข่ระยะต่างๆ

การให้อาหารไก่ไข่ระยะต่างๆ

25ม.ค.
การให้อาหารไก่ไข่ระยะต่างๆ
1.
ไก่ไข่เล็ก – รุ่น
 การเลี้ยงลูกไก่ในระยะแรกผู้เลี้ยงควรหมั่นดูแลเอาใจใส่และเติมอาหารในรางให้ลูกไก่มีกินได้ตลอดเวลาเพราะถ้าลูกไก่ ได้รับ อาหารไม่พอจะทำให้อ่อนแอและโตช้า การให้อาหารลูกไก่ในช่วง 2-3 วันแรกควรใช้วิธีโรยอาหารบนกระดาษหรือถาดใต้เครื่องกก เพื่อช่วยให้ลูกไก่กินอาหารได้เร็วขึ้น ในระยะไก่เล็ก-รุ่นนี้ควรให้กินอาหารอย่างเต็มที่เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต และเตรียมโครงสร้างของร่างกายให้มีขนาดใหญ่ สามารถเก็บสะสมพลังงานสำรองไว้ใช้ในยามจำเป็น
2.
ไก่ไข่สาว
การให้อาหารแก่ไก่ไข่สาวนั้น ไม่ควรให้กินอาหารอย่างเต็มที่ ควรมีการจำกัดอาหารที่ให้โดยเริ่มเมื่อไก่อายุได้ 12 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสุขภาพความสมบูรณ์ของไก่ เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวไก่ให้มีขนาดตามสายพันธุ์ที่บริษัทผู้ผลิตไก่แนะนำหรือได้น้ำหนักตามมาตรฐานที่แสดงไว้ในตาราง 1 โดยสุ่มไก่จากส่วนต่างๆ ของคอก จาก 10% ของฝูงมาชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์ ไก่รุ่นก่อนไข่ที่ปล่อยให้อ้วนและมีน้ำหนักตัวมากเกินไปจะให้ไข่เร็วแต่ให้ไข่ไม่ทน ข้อควรระวังในการจำกัดอาหารคือต้องจัดรางอาหารให้มีเพียงพอให้ไก่กินทุกวัน และพยายามกระจายอาหารให้ทั่วถึงภายในเวลาอันรวดเร็วเพื่อให้ไก่ได้กินอาหารเท่าๆ กันและมีขนาดสม่ำเสมอกัน และสิ่งที่สำคัญอีอย่างหนึ่งคือ ถ้าไก่มีน้ำหนักมากเกินไปไม่ควรลดอาหารที่ให้กิน ให้ใช้วิธีชะลอการเพิ่มปริมาณอาหารไว้จนกว่าไก่จะมีน้ำหนักได้ตามมาตรฐาน
3.
ไก่ไข่ระยะให้ไข่
ปริมาณการกินอาหารของไก่ไข่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง อาทิ อัตราการไข่ น้ำหนักตัวไก่และอุณหภูมิแวดล้อม เป็นต้น เกษตรกรอาจคิดคำนวณปริมาณอาหารที่ให้กินในแต่ละวันดังนี้
1. ให้อาหารสำหรับการดำรงชีพ วันละ 63 กรัม สำหรับตัวไก่ไข่ที่มีน้ำหนักตัว 2 กก. และเลี้ยงแบบปล่อยพื้นคอกภายในโรงเรือนที่มีอุณหภูมิแวดล้อม 25  ํC
2. ให้อาหารเพิ่มวันละ 7 กรัม สำหรับอัตราการไข่ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10% โดยเริ่มจากอัตราการไข่ 0%
3. ให้อาหารเพิ่มขึ้น/ลดลง วันละ 1.2 กรัม สำหรับน้ำหนักไก่ที่เพิ่มขึ้น/ลดลง ทุกๆ 50 กรัม จากน้ำหนัก 2 กก.
4. ให้อาหารเพิ่มขึ้น/ลดลง วันละ 1.4 กรัม เมื่ออุณหภูมิลดลง/สูงขึ้น ทุกๆ 1 ํC จากอุณหภูมิ 25  ํC
5. ให้อาหารลดลง วันละ 5 กรัม ถ้าเป็นการเลี้ยงบนกรงตับ
6. ให้อาหารเพิ่มขึ้น/ลดลง วันละ 1 กรัม สำหรับระดับพลังงานในอาหารที่ลดลง/เพิ่มขึ้น ทุกๆ 50 กิโลแคลอรี่/กก. จากระดับพลังงานใช้ประโยชน์ได้ 2,750 กิโลแคลอรี่/กก. ในสูตรอาหาร
ตารางที่ 3 แสดงความต้องการสารอาหารของแม่ไก่ไข่ระยะให้ไข่ (คิดเป็นปริมาณที่ได้รับ/วัน)
สารอาหารที่ต้องการ
(มิลลิกรัม/วัน)
ไก่ไข่พันธุ์ที่ให้เปลือกไข่สีขาว
กินอาหารเฉลี่ย 100 กรัม/วัน
ไก่ไข่พันธุ์ที่ให้เปลือกไข่สีน้ำตาล
กินอาหารเฉลี่ย 110 กรัม/วัน
โปรตีน
กรดอะมิโนจำเป็นต้องมีในอาหาร
ไลซีน
เมทไธโอนีน+ซิสตีน
ทริปโตเฟน
ทรีโอนีน
ไอโซลูซีน
อาร์จินีน
ลูซีน
เฟนิลอะลานีน+ไทโรซีน
ฮีสติดิน
เวลีน
แคลเซี่ยม
ฟอสฟอรัสใช้ประโยชน์ได้
เกลือ
15,000
690
580
160
470
650
700
820
830
170
700
3,250
250
350
16,500
760
645
175
520
715
770
900
910
190
770
3,600
275
385
    ที่มา : NRC(1994)
ตารางที่ 4 แสดงความต้องการพลังงานใช้ได้ในแต่ละวันของแม่ไก่ไข่ที่มีน้ำหนักตัวและอัตราการ
ให้ผลผลิตไข่แตกต่างกัน (กิโลแคลอรี่/วัน)
น้ำหนักตัวไก่(กิโลกรัม)
อัตราการให้ผลผลิตไข่ (%)
0
50
60
70
80
90
1.0
1.5
2.0
2.5
3.0
130
177
218
259
296
192
239
280
321
358
205
251
292
333
370
217
264
305
346
383
229
276
317
358
395
242
289
330
371
408
    ที่มา : NRC(1994)
  ในการเปลี่ยนสูตรอาหารใหม่แต่ละครั้ง ผู้เลี้ยงไม่ควรให้อาหารใหม่อย่างทันทีทันใด เพราะจะทำให้ไก่เกิดความเครียด ชะงักการเจริญเติบโตและการให้ไข่ลดลงได้ ควรจะนำอาหารใหม่มาผสมกับอาหารสูตรเดิมแล้วค่อยๆ ลดอาหารสูตรเดิมลง จนเปลี่ยนเป็นอาหารสูตรใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ไก่เกิดความคุ้นเคยและปรับตัวได้

เลี้ยงไก่กินไข่ เหลือขาย ตามเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง

25ม.ค.

เลี้ยงไก่กินไข่ เหลือขาย ตามเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง

เลี้ยงไก่
ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่าการยึดหลักแนวเศรษฐกิจพอเพียง ของพ่อหลวงปวงชนชาวไทย นั้นถือว่าเป็นการยึดหลักดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้คนเราไม่ต้องเดือดร้อน และที่สำคัญในยุคนี้
เลี้ยงไก่ไข่
ลุงเยี่ยม หรือว่า นายเยี่ยม  ตาเห็น อายุ 65 ปี และนางลำไย  ตาเห็น อายุ 59 ปี เกษตรชาวตำบลบ้านป่า  อ.เมืองพิษณุโลก ซึ่งปัจจุบันได้หันมายึดอาชีพเลี้ยงไก่ไข่ และทำการเกษตรพอเพียง ตามแนวทางพระราชดำริ
เลี้ยงไก่
โดยลุงเยี่ยมเล่า ว่าในช่วงก่อนหน้านี้ตนเองเคยทำอาชีพต่างๆมาหลากหลายอาชีพ  โดยเฉพาะการเดินทางไปทำงานก่อสร้าง ยังต่างประเทศ ในตะวันออกกลางหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอิรัก อิหร่าน ลิเบีย หรือแม้กระทั่งซาอุดิอาราเบีย ก่อนที่จะกลับมายึดอาชีพทำนา เลี้ยงวัว  แต่ในช่วงหลังมานี้ ก็ต้องเจอกับปัญหาการขาดทุนมาโดยตลอด    แต่พอได้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาใช้และลงมือปฏิบัติจริง ก็ทำให้ชีวิตครอบครัวดีขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเลี้ยงไก่ไข่  ซึ่งนอกจากจะนำไข่ไก่มารับประทานแล้ว ที่เหลือก็นำไปขายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง  ทุกๆวันในช่วงเช้าก็จะเก็บไข่ไปขายตลาดในตัวเมืองพิษณุโลก หรือไม่ก็มีลูกค้าประจำมารับถึงบ้าน ทำให้ปัจจุบันมีรายได้จากการจำหน่ายไข่ไก่ อยู่ที่ประมาณวันละ 200 – 250 บาท ต่อวัน
ไก่ไข่
นอกจากนี้คุณป้าลำไยภรรยาของลุงเยี่ยมบอกว่า ไข่ไก่ของตนนั้นจะมีไข่แดงที่เข้มข้นกว่าไข่ไก่ในท้องตลาด ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากว่าคุณป้ามีเคล็ดลับในการเลี้ยงนั่นเอง   ส่วนช่องทางการจำหน่ายในปัจจุบันก็นำไปจำหน่ายยังร้านค้าชุมชน   และนอกจากการเลี้ยงไก่ไข่แล้ว ครอบครัวลุงเยี่ยมยังเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง  ทำนา ปลูกพืชผักสวนครัว จนทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นในทุกวันนี้
ไข่ไก่
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าชื่นชมไม่น้อย เนื่องจากลุงเยี่ยม และป้าลำไย ที่ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง และเพียงพอไม่ฟุ้งเฟื้อง ตามพระราชดำริ เกษตรพอเพียง
////

การเลี้ยงไก่ไข่เเบบพอเพียง

25ม.ค.

 การเลี้ยงไก่ไข่


การเลี้ยงไก่ไข่ไว้่สำหรับลดรายจ่ายของครอบครัว
เมื่อเราตั้งเป้าหมาย แล้วว่าจะเลี้ยงไก่ไข่
ขั้นตอนต่อไปก็คือการวางแผน การเลี้ยง (ขงเบ้ง กว่าว่า รู้เขา รู้เรา รบสิบครั้งชนะสิบครั้ง)

1.เริ่มศึกษาการเลี้ยงไก่ไข่ หาข้อมูลให้ได้มากที่สุด และศึกษาจุดคุ้มทุน
ในที่นี้ผมศึกษาดูแล้วสามารถหาจุดคุ้มทุนได้ จะอธิบายให้ฟังภายหลังนะครับ ทฤษฏีเยอะพอสมควร2 วางแผนการเลี้ยงโดยเริ่มจา การสรรหาไก่ไข่ สร้างกรงไก่ หรือคอกไก่ ประเมิณราคา การกำจัดกลิ่น สิ่งแวดล้อมการเป็นอยู่ของไก่ โรคของไก่
เมื่อวางแผนเสร็จ ผมก็เริ่มยึดจุดยุทธศาสตร์ โดยการวางผังโรงไก่ วิเคราห์ เรื่องกลิ่นและการกำจัดกลิ่นด้วย
แล้วก็ออกแบบ โรงไก่ไข่ (ใช้เวลานานพอสมควร ) ทุกอย่างอยู่ในหัว เมื่อทำเสร็จต้องเหมือนกับที่วางแผนไว้ เริ่มจาก
พื้นที่ว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์มานานแล้ว
ต่อไปก็ปรับพื้น ตั้งเสาเพื่อทำโรงไก่ตามที่ออกแบบไว้
เริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้วนะครับ ใช้พื้นที่น้อยครับ กว้าง 60 ซม. ยาว 2 เมตร
ส่วนพื้นเป็นตะแกรงนะครับ ทำให้เอียงพอใข่ไหลออกมาได้ ตะแกรงตาถี่ประมาณ 1 นิ้ว หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้าง หรือร้านขายอุปกรณ์การเกษตร

หลังจกานั้นก็เอาไม้ไผ่ทำเป็นกรง ปิดหน้า ปิดหลัง ใส่หลังคา ผมใช้กระเบื้องเพราะราคาถูก พอกับหญ้าแฝกแต่อายุการใช้งานนานกว่้า ใส่หลอดไฟให้มันด้วยครับ เพราะมันขี้กลัวมันจะตกใจ ไม่ใส่ก็ไม่เป็นไรครับ
เอา แสลนมาปิดกันลมกันฝน แค่นี้ก็เสร็จแล้วครับ กับโรงไก่ไข่ ใช้เวลาทำไม่นาน แต่ว่าใช้เวลาในการออกแบบ นานกว่าอีกนะครับ
และแล้วก็ได้ไก่ไว้ในกรงแล้วหละครับ น่ารักไหมครับ
คงสงสัยใช่ไหมทำไมไก่มันใหญ่เร็วจัง 555555.. ไม่ต้องสงสัยครับ ร้านเกษตร เค้ามีไก่สาวไว้ขายให้เกษตรกร ครับ เราไม่จำเป็นต้องซื้อลูกเจี๊ยบมาเลี้ยงให้มันโต เสียเวลาครับ บางทีอาจจะไม่โตก็ได้
เค้ามีำไก่สาว อายุประมาณ 18 สัปดาห์ ไว้ขายครับ ไก่อายุ 21 สัปดาห์มันจะเริ่มไข่ครับ ไม่ต้องกลัวว่าจะได้ไก่แก่ใกล้จะหมดไข่ไม่ใช่ครับ อย่างของผมอยู่ที่โคราชครับ ซื้อไก่ของ ซีพี ครับ มันมีของ สหฟาร์มด้วยแต่ว่าร้านจำหน่ายคนละร้านกันครับ ผมซื้อไก่ซีพี อาหารก็ซีพี ครับ
ต่อไปครับ เรื่องกลิ่นครับ ผมใช้แกลบ กลบขี้ไก่นะครับ มันจะไม่มีกลิ่นเลยครับ

และที่เห็นไก่จะอยู่ช่องใครช่องมันนะครับ เราจะไม่ปล่อยให้มันอยู่รวมกัน มันมีข้อเสียเยอะกว่าข้อดีนะครับ เหตุผลมีครับ คือ 1.เราสามารถรู้ได้ว่าไก่ตัวไหนไข่หรือไม่ไข่ 2.การจำกัดพื้นที่ของไก่จะทำให้ไก่ออกไข่ดีครับ เพราะว่ามันเกิดมาเพื่อ กิน นอน ปวดท้อง แล้วก็ไข่ ถ้ามันเดินมาก หรือเคลื่อนไหวมากจะทำให้ร้างกายมันสมบูรณ์ แข็งแรงดีเกินไป ไม่ปวดท้อง และก็จะไม่ไข่ 3. สามารถควบคุมอาหารได้ด้วยครับ เพราะว่า ไก่ 1ตัวจะกินอาหารประมาณ 70-90 กรัม ต่อวันนะครับ ถ้ากินมากกว่านี้จะทำให้ไก่อ้วน มันจะไม่ไข่นะครับ ถ้ามันได้กินอาหารเต็มที่ 4. ป้องกันไม่ให้มันจิกก้นกันนะครับ เมื่อมันออกไข่ไปนานๆ ถ้าปล่อยให้มันอยู่รวมกันมันจะจิกก้นกันนะครับ บางตัวโดนจิกก้นจนตายเลยนะครับ สรุปแล้ว กันกรงใครกรงมันดีกวาครับ
การเลี้ยงนะครับ
1. ให้อาหาร 70-90 กรัมต่อวันครับ ของผมเลี้ยง 6 ตัว ให้อาหารวันละ 5 ขีดครับ ค่าอาหารประมาณ 7 บาทครับ ให้เช้า กับเย็นครับ 2 เวลา คือ ตักมา 5 ขีด ให้เช้าครึ่งนึง เหลือครึ่งนึงให้ ตอนเย็นครับ .
2. ให้น้ำอย่าให้ขาดนะครับ ไก่กินอาหาร มันจะขาดน้ำไม่ได้เลยครับ และน้ำต้องผสม วิตามิน และยาแก้หวัดด้วยนะครับ ถามร้านขายไก่ดูครับ เค้ามีขายพร้อม ถ้าไม่มีวิตามินผสม กับน้ำ จะทำให้ไข่ไก่ไม่โตนะครับ
อย่างของผมซื้อไก่มาวันที่ 6 ม.ค ประมาณวันที่ 2 อาทิตย์ไก่ก็เริ่มไข่ให้ได้ดีใจแล้วครับ ประมาณ วันที่ 30 มค. มันก็ออกไข่ครบทุกตัว น่าภูมิใจมากครับ ทุกวันนี้ ได้ไข่วันละ 6 ฟอง กินวันละ 2- 4 ฟอง ที่เหลือก็ขายให้กับคนแถวบ้าน แล้วเอาเงินขายไ่ข่ไปซื้ออาหารไก่ ลงตัวพอดีครับ
ตอนนี้ผมลบคำที่ว่า เอาเงินค่าอาหารไก่ไปซื้อไข่กินดีกว่า ได้แล้วครับ ผมได้คำนวนแล้วได้คำตอบที่ว่า ถ้าเราเลี้ยงขายอาจจะได้กำไรน้อย ถ้าเลี้ยงขายอย่างน้อยต้อง ร้อยตัวขึ้้น นะครับถึงจะคุ้มต่อวัน และระยะคืนทุนก็นานพอควรครับ เกือบปีหละครับถึงจะได้ ค่าต้นทุนไก่ที่ซื้อมา
ส่วน การเลี้ยงเพื่อกิน พอเพียงอย่างว่าหนะครับ คือเอาไว้กิน เหลือก็ขายครับ คือเราจะคิดราคาที่เราไปซื้อไข่มากิน 10 ฟอง 30 บาท อยู่ได้ 3 วัน ครับ คิดอย่างนี้คุ้มสุดๆ เลยครับ และไม่น่าเชื่อว่า ที่เหลือจะสามารถขายได้แล้วเอาเงินที่ขายไ้้ด้ไปซื้ออาหารไก่ได้อีก คุ้มครับ ถ้าเราจัดการดีๆ อย่างที่ผมทำนะครับอยากให้ใครที่มีเวลา มีพื้นที่ ลองทำดูครับ ประหยัดรายจ่ายได้ดีมากๆๆ

พันธุ์ไก่

25ม.ค.
ไก่ประดู่หางดำ
เป็นไก่พื้นเมืองพันธุ์หนึ่งของประเทศไทย เพศผู้มีขนลำตัวดำ สร้อยคอหลังสีแดงประดู่ ปาก แข้งดำ ผิวหนังสีขาวอมเหลือง เปลือกไข่สีขาวนวลถึงน้ำตาลอ่อน หงอนถั่ว ส่วนเพศเมียมีขนสีดำทั้งตัว ลักษณะอื่นๆ คล้ายไก่เพศผู้
ไก่เหลืองหางขาว
เป็นไก่พันธุ์พื้นเมืองที่มีรูปร่างสูงโปร่ง ขนาดใหญ่ ขนลำตัวมีสีดำ มีขนสีขาวแซม ขนปีกสีดำแซมขนขาวปลายปีก ขนพื้นลำตัวและขนปีกปกคลุมด้วยสร้อยคอ สร้อยหลังและสร้อยปีกสีเหลืองหรือสีเหลืองอมแดง ขนหางเป็นพวงสีดำมีขนสีขาวแซม ปากและแข้งมีสีเหลือง ผิวหนังสีขาวอมเหลือง เปลือกไข่สีน้ำตาลอ่อน หงอนถั่ว
ไก่แดง
มีรูปร่างสูง ทะมัดทะแมง ขนพื้นลำตัว หน้าคอ หน้าท้อง ขนใต้ปีก ขนสร้อยคอ สร้อยปีกแดง ขนหางมีสีดำหรือแดงมีขนสีขาวแซม ปากและแข้งสีเหลือง ผิวหนังสีขาวอมเหลือง เปลือกไข่สีน้ำตาลอ่อน หงอนถั่ว
ไก่ชี
มีรูปร่างโปร่ง ขนลำตัว สร้อยคอ สร้อยหลังและขนหางมีสีขาว ปากและแข้งสีเหลืองและขาวอมเหลือง ผิวหนังสีขาวอมเหลือง เปลือกไข่สีขาวนวล หงอนถั่ว
ไก่ชี้ฟ้า (Chee Fah)
เป็นไก่พื้นเมืองในท้องถิ่นของชาวเขาในเขตอำเภอภูชี้ฟ้า แม่ฟ้าหลวง เถิง และเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ไก่พันธุ์นี้กรมปศุสัตว์ได้รวบรวมพันธุ์ มาทำการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ ตั้งแต่ปี 2544
ลักษณะประจำพันธุ์ เพศผู้มีขนหลัง (suddle) และขนหางมีสีดำ หงอนจักร ขนตา ปาก แข้ง ผิวหนัง เนื้อ กระดูกและเครื่องในมีสีดำ เพศเมียมีขนสีเหลือง อ่อนสลับดำ ทั่วทั้งตัวคล้ายกับลายนกคุ้ม หงอนจักร ขอบตา ปาก แข้ง ผิวหนัง เนื้อ กระดูกและเครื่องในมีสีดำ น้ำหนักมาตรฐาน พ่อพันธุ์หนัก 2.5 กิโลกรัม แม่พันธุ์หนัก 1.8 กิโลกรัม
สมรรถภาพการผลิต
น้ำหนักแรกเกิด25.1 + 3.2 กรัม
น้ำหนัก 12 สัปดาห์849.2 + 123.6 กรัม
น้ำหนัก 16 สัปดาห์1,259.1 + 217.2 กรัม
อายุเมื่อให้ไข่ฟองแรก151.4 + 6.8 กรัม
น้ำหนักเมื่อให้ไข่ฟองแรก1,388.3 + 178.4 กรัม
น้ำหนักไข่ฟองแรก30.7 + 2.0 กรัม

ไก่ฟ้าหลวง (Fah Luang Chicken)
เป็นไก่พื้นเมืองในท้องถิ่นของชาวเขาในเขตอำเภอภูชี้ฟ้า แม่ฟ้าหลวง เถิง และเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ไก่พันธุ์นี้กรมปศุสัตว์ได้รวบรวมพันธุ์มาทำการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ตั้งแต่ปี 2544
ลักษณะประจำพันธุ์ เพศผู้มีขนหลัง (Suddle) และขนสร้อยคอสีเหลืองเข้ม ขนหางมีสีดำหงอนจักร ขอบตา ปาก แข้ง ผิวหนัง เนื้อ กระดูกและเครื่องในมีสีดำ พ่อพันธุ์หนัก 2.3 กิโลกรัม แม่พันธุ์หนัก 1.7 กิโลกรัม
สมรรถภาพการผลิต
น้ำหนักแรกเกิด25.3 + 2.9 กรัม
น้ำหนัก 4 สัปดาห142.0 + 32.2 กรัม
น้ำหนัก 8 สัปดาห์439.0 + 92.7 กรัม
น้ำหนัก 16 สัปดาห์1,253.9 + 287.3 กรัม
อายุเมื่อให้ไข่ฟองแรก153.3 + 7.3 กรัม
น้ำหนักเมื่อให้ไข่ฟองแรก1,376.6 + 193.2 กรัม
น้ำหนักไข่ฟองแรก30.6 + 2.1 กรัม

ไก่แม่ฮ่องสอน (Mae Hong Son Chicken)
เป็นไก่พื้นเมืองท้องถิ่นที่เลี้ยงกันมากในชนบทเกือบทุกอำเภอของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เกษตรกรที่เลี้ยงมีทั้งเกษตรกรในหมู่บ้านต่างๆ และชาวเขาไม่ว่าจะเป็นมูเซอ ลีซอ ฯลฯ ไก่พันธุ์นี้บางทีเรียกว่า ไก่ตอ กรมปศุสัตว์ได้รวบรวมพันธ์มาทำการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ตั้งแต่ปี 2544
ลักษณะประจำพันธุ์ เพศผู้มีขนหลัง (Suddle) และสร้อยคอมีสีเหลืองเข้ม ขนลำตัวและหางมีสีดำ มีปุยขาวที่โคนหาง หงอนจักร แข้งสีดำเรียวเล็กเหมือนไก่ป่า ผิวหนังสีขาว เพศเมีย ขนทั้งตัวมีสีเหลืองกระหรือสีน้ำตาลอ่อนลายป่า หงอนจักร แข้งสีดำเรียวเล็กเหมือนไก่ป่า ผิวหนังสีขาว พ่อพันธุ์ 1.4 กิโลกรัม แม่พันธุ์ 0.9 กิโลกรัม
สมรรถภาพการผลิต
น้ำหนักแรกเกิด19.9 + 2.8 กรัม
น้ำหนัก 4 สัปดาห106.2 + 24.1 กรัม
น้ำหนัก 8 สัปดาห์310.3 + 68.3 กรัม
น้ำหนัก 16 สัปดาห์837.8 + 160.5 กรัม
อายุเมื่อให้ไข่ฟองแรก148.8 + 26.2 กรัม
น้ำหนักเมื่อให้ไข่ฟองแรก829.7 + 13.6 กรัม
น้ำหนักไข่ฟองแรก26.7 + 3.0 กรัม
ไก่เบตง
เป็นไก่ที่พบมากในอำเภอเบตง อำเภอธารโต จังหวัดยะลา และบางอำเภอในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นไก่ที่มีเชื่อสายมาจากไก่พันธุ์แลนชาน ประเทศจีน
ลักษณะประจำพันธุ์ มีขนสีเหลืองทองถึงเหลืองออกตลอดลำตัว ขนที่ขึ้นเป็นประเภทขนอ่อนและสั้น ปกคลุมตลอดลำตัว ทำให้มองดูเหมือนไก่ไม่มีหาง ไม่มีปีก ปากสีเหลืองจงอยปากงองุ้ม แข็งแรง ผิวหนังสีเหลือง หรือสีแดงเรื่อๆ แข้งและนิ้วสีเหลือง หงอนจักร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ เพศผู้หนัก 3 กิโลกรัม เพศเมียหนัก 2.7 กิโลกรัม ให้ไข่ฟองแรกเมื่ออายุ 169 วัน เมื่ออายุ 5 เดือน ได้น้ำหนัก 1.92 กิโลกรัม ให้อาหารประมาณ 115 กรัม
ไก่เซียงไฮ้ (Shianghai Chickens)
ไก่พันธุ์นี้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย ราวปี 2524 โดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ถวายไข่มีเชื้อแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ลักษณะประจำพันธุ์ เพศผู้และเพศเมียมีลักษณะทั่วไปคล้ายๆ กับไก่โร๊ดไอแลนด์แดงแต่มีรูปร่างและน้ำหนักตัวมากกว่าไก่โร๊ดฯ สีขนมีสีเหลืองเข้ม ขนปลายคอมีสีดำ หงอนจักร แข้งและผิวหนังสีเหลือง เปลือกไข่สีน้ำตาล แข้งมีขน น้ำหนักพ่อพันธุ์ 4.00 กิโลกรัม น้ำหนักแม่พันธุ์ 3.1 กิโลกรัม
สมรรถภาพการผลิต
อายุเมื่อให้ไข่ฟองแรก190.0 กรัม
น้ำหนักเมื่อให้ไข่ฟองแรก2,079 + 133 กรัม
จำนวนไข่ต่อปี180 + 19 ฟอง